19 เมษายน 2024

พีอาร์บีเคเค , PRBKK , PRBKK.com

พีอาร์บีเคเค , PRBKK , PRBKK.com

6 หน่วยงาน ร่วมจัดเสวนา แจงอิทธิพลอเมริกาในประเทศไทยในทุกมิติ

1 min read

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา, สถาบันการสร้างชาติ, ที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย (ทปสท.), มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดเสวนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของประเทศไทย (Thailand International Relation Forum) ในหัวข้อ “อิทธิพลอเมริกาในประเทศไทย: วิเคราะห์อดีต ปัจจุบัน อนาคต” ณ ห้อง SB501 อาคารศรีศรัทธา คณะรัฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยรามคำแหงซึ่งในการเสวนาได้มีการอภิปรายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบายของอเมริกาที่ส่งผลกระทบและอิทธิพลต่อประเทศไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต วัตถุประสงค์ในการจัดเสวนาดังกล่าวเพื่อช่วยให้คนไทยได้มีความเข้าใจและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับอนาคตที่จะเกิดขึ้น ทั้งยังช่วยให้เครือข่ายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายสามารถกำหนดนโยบายที่จะใช้ประโยชน์จากอิทธิพลดังกล่าวต่อการผลักดันประเทศไทยให้เป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต


ในการเสวนาดังกล่าวได้รับเกียรติจาก ผศ.สาธิน สุนทรพันธุ์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวเปิดงาน และศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันการสร้างชาติ ปาฐกถาเปิดงานในหัวข้อ “แนวโน้มของอิทธิพลอเมริกาในประเทศไทย” หลังจากนั้นได้มีการเริ่มเสวนา โดยมีการแบ่งประเด็นเสวนาออกเป็น 3 มิติ คือ มิติสังคมวัฒนธรรม, มิติการเมือง, มิติเศรษฐกิจ ซึ่งในแต่ละมิติได้มีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมแสดงความคิดเห็นหลายท่าน อาทิ ดร.ชัยยงค์ สัจจิพานนท์,

อ.กิตติพล วงศ์มีชัย, อ. เอกสฤษดิ์ ลักษิตานนท์, ผศ.สาธิน สุนทรพันธุ์, พล.อ.สุรสิทธิ์ ถนัดทาง, ผศ.ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์, ท่านกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์, รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม, ผศ.ดร.ประการัง ชื่นจิตร, ดร.ดอน นาครทรรพโดยมีผศ.ดร.เชษฐา ทรัพย์เย็น ประธานที่ปรึกษา ที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินรายการ


ด้าน ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้ให้สัมภาษณ์ ภายหลังปาฐกถาว่า สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาประเทศไทยในอดีตถึงปัจจุบัน แต่การเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์โลก จะทำให้อิทธิพลของอเมริกาในประเทศไทยถดถอยลง ทั้งขนาด ความกว้าง และความลึกของอิทธิพล ขณะที่มหาอำนาจอื่นมีอิทธิพลมากขึ้น ซึ่งในโลกหลายขั้วอำนาจนี้ และระเบียบโลกที่มีหลายหลักหรือไม่มีหลักที่แน่นอนไทยจะได้รับอิทธิพลจากหลายมหาอำนาจ เกิดความซับซ้อนของหลักปรัชญาความคิดจนถึงหลักปฏิบัติ ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการขับเคลื่อนประเทศที่ขาดทิศทาง ขาดเอกภาพ และขาดเสถียรภาพ

“ประเทศไทยจำเป็นต้องกลับมาทบทวนทิศทางการพัฒนา โดยการกำหนดหลักหมุดในการสร้างชาติบนหลักปรัชญาที่ดีงามสร้างอุดมการณ์ชาติที่ชัดเจนซึ่งจะนำไปสู่ผลประโยชน์ของชาติ และพัฒนาเศรษฐกิจบนจุดแกร่งของประเทศ สร้างสังคมที่หลากหลายแต่มีเอกภาพ และสร้างการเมืองประชาธิปไตยบนฐานธรรมาธิปไตย นอกจากนี้ ประเทศไทยควรเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนอาเซียน ให้เป็นแกนกลางในการเชื่อมขั้วอำนาจต่าง ๆ เพื่อสร้างอำนาจต่อรองและรักษาดุลอำนาจในภูมิภาค”ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าว

 

ชื่อ-ตำแหน่งวิทยากร
● ดร.สุธนี บิณฑสันต์, อุปนายกสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
● ผศ.สาธิน สุนทรพันธุ์, คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
● ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, ประธานสถาบันการสร้างชาติ
● ดร.ชัยยงค์ สัจจิพานนท์, อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา, อดีต นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
● อ.กิตติพลวงศ์มีชัย, นักวิจัยสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
● อ.เอกสฤษดิ์ ลักษิตานนท์, อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
● ผศ.สาธิน สุนทรพันธุ์, คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
● พล.อ.สุรสิทธิ์ ถนัดทาง, อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
● ผศ.ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์, นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
● ท่านกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์, รองประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า, อดีตอัครราชทูต ฝ่ายการพาณิชย์ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี และกรุงบรัสเซลส์ สหภาพยุโรป
● รศ.ดร.ปิติศรีแสงนาม, คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● ผศ.ดร.ปะการัง ชื่นจิตร, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
● ดร.ดอน นาครทรรพ, ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเสถียรภาพระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
● ผศ.ดร.เชษฐาทรัพย์เย็น ประธานที่ปรึกษาที่ประชุมประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่ง
ประเทศไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.