21 พฤศจิกายน 2024

พีอาร์บีเคเค , PRBKK , PRBKK.com

พีอาร์บีเคเค , PRBKK , PRBKK.com

อว. ภาคภูมิใจ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย จัดพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับนักประดิษฐ์และนักวิจัย ที่คว้ารางวัลเวทีนานาชาติ

1 min read

อว. ภาคภูมิใจมอบใบประกาศเกียรติคุณให้กับนักประดิษฐ์และนักวิจัย ที่คว้ารางวัลเวทีนานาชาติ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย วันที่ 14 ธันวาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดพิธีมอบใบประกาศนียบัตรแสดงความยินดี แก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่คว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติ Internationally Outstanding Inventors Awards Ceremony ณ ห้องมัฆวานรังสรรค์ ชั้น 3 สโมสรทหารบก วิภาวดี ซึ่งภายในงานมีนิทรรศการผลงานของนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมจากเวทีนานาชาติ และมีการปาฐกถาพิเศษ “พัฒนากำลังคนของประเทศสู่เวทีระดับนานาชาติ” พร้อมทั้งมอบประกาศนียบัตรแสดงความยินดีแก่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย

โดย ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานในพิธี โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวรายงานผลสำเร็จการส่งเสริมและพัฒนานักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยในเวทีระดับนานาชาติ นับเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยที่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยได้สร้างชื่อเสียงนำนวัตกรรมของประเทศไทยสู่เวทีนานาชาติ ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และยังเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศก้าวเดินไปข้างหน้า “คน” ถือเป็นอีกทรัพยากรและกลไกการขับเคลื่อนสำคัญที่ อว. ให้ความสำคัญ เพื่อ “เตรียมคนไทย

แห่งศตวรรษที่ 21 พัฒนาเศรษฐกิจที่กระจายโอกาสอย่างทั่วถึง สังคม ที่มั่นคง และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยสร้างความเข้มแข็งทางนวัตกรรมระดับแนวหน้าในสากล นำประเทศไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว” โดยเป้าประสงค์ของการพัฒนา นอกเหนือจากเรื่องกำลังคนแล้ว การวิจัยสู่การสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขัน กว่า 4 ปีของการจัดตั้งกระทรวง อว. กระทรวงแห่งปัญญา โอกาส และอนาคต เป้าหมายที่สำคัญคือการพัฒนาอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้มีเอกภาพและเป็นระบบ พัฒนาบุคลากรด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้มีความเข้มแข็ง สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่สามารถนำ

ไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม อันจะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาประเทศ และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกได้ สู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ผ่าน PMU ที่เป็น Funding Agency ต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงฯ ส่วนการสนับสนุนทางอ้อม เช่น การสร้างแรงจูงใจ และการให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือยกย่องบุคคลหรือ หน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ วช. ได้ทำหน้าที่เป็นผู้เสนอชื่อและประสานงานหลักของประเทศไทยในการนำส่งผลงานของนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีระดับนานาชาติในรูปแบบออนไซต์ จำนวน 4 เวที ทั้งในทวีปยุโรปและเอเชีย โดยสนับสนุนนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติแสดง

ให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทยในระดับสากล ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศเกียรติคุณนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติ จำนวน 149 ผลงาน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมที่ร่วมนำเสนอ ในเวทีนานาชาติที่ได้รับรางวัลสูงสุดจากการประกวด (Grand Prize) จำนวน 4 ผลงาน และรางวัลระดับเหรียญทอง จำนวน 59 ผลงาน โดยในปีงบประมาณ 2566 วช. ในฐานะหน่วยงานคัดเลือกและนำส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในเวทีนานาชาติของประเทศไทยการประสานนำผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีระดับนานาชาติ จำนวน 4 เวที ดังนี้ 1) เวที “Taiwan Innotech Expo 2022” (TIE 2022) ณ เมืองไทเป ไต้หวัน โดยนักประดิษฐ์ไทยสามารถ คว้าเหรียญรางวัลประเภทต่าง ๆ ดังนี้ เหรียญทองจำนวน 7 รางวัล เหรียญเงินจำนวน 8 รางวัล เหรียญทองแดงจำนวน 5 รางวัล และรางวัลพิเศษจากประเทศต่าง ๆ จำนวน 9 รางวัล 2) เวที “The International Trade Fair – Ideas, Inventions and New Products” (iENA 2022) ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยนักประดิษฐ์ไทยสามารถ

คว้ารางวัล iENA Fair Management ซึ่งเป็นรางวัลสำคัญของงาน จำนวน 1 รางวัล และเหรียญรางวัลประเภทต่าง ๆ ดังนี้ เหรียญทองจำนวน 10 รางวัล เหรียญเงินจำนวน 13 รางวัล เหรียญทองแดงจำนวน 6 รางวัล และรางวัลพิเศษจากประเทศต่าง ๆ จำนวน 28 รางวัล 3) เวที “Seoul International Invention Fair 2022” (SIIF 2022) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดยนักประดิษฐ์ไทยสามารถคว้ารางวัล Grand Prize ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของงาน จำนวน 2 รางวัล และเหรียญรางวัลประเภทต่าง ๆ ดังนี้ เหรียญทองจำนวน 27 เหรียญ เหรียญเงินจำนวน 10 เหรียญ เหรียญทองแดงจำนวน 25 เหรียญ และรางวัลพิเศษจากประเทศต่าง ๆ จำนวน 30 รางวัล 4) เวที “2022 Kaohsiung International Invention & Design Expo” (KIDE 2022) ณ เมืองเกาสง ไต้หวัน โดยนักประดิษฐ์ไทยสามารถคว้า WIIPA Grand Prize – Commercial Potential Award ซึ่งเป็นรางวัลสำคัญที่มอบให้กับผลงาน

ที่มีศักยภาพโดดเด่นในเชิงพาณิชย์ จำนวน 1 รางวัล และเหรียญรางวัลประเภทต่าง ๆ ดังนี้ รางวัลเหรียญทองจำนวน 15 รางวัล เหรียญเงินจำนวน 9 รางวัล เหรียญทองแดงจำนวน 5 รางวัล และรางวัลพิเศษจากประเทศต่าง ๆ จำนวน 15 รางวัล นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมให้มีความเข้มแข็ง สู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้างมากยิ่งขึ้นในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและร่วมกันพัฒนาประเทศของเราให้ยั่งยืนสืบไป ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า หนึ่งในบทบาทและภารกิจที่สำคัญของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คือการส่งเสริมและสนับสนุน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Copyright © All rights reserved. | Newsphere by AF themes.